ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักคาวทอง, คาวตอง
ผักคาวทอง, คาวตอง
Houttuynia cordata Thunb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Saururaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.
 
  ชื่อไทย ผักคาวทอง, คาวตอง
 
  ชื่อท้องถิ่น คาวตอง(คนเมือง), ด่อเคียงแงด(ปะหล่อง), เย้าเจ่าเหน่ง(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ผักคาวตองเป็นพืชล้มลุก เลื้อยอยู่ตามผิวดิน มีกลิ่นคาวโดยเฉพาะใบและยอดอ่อน ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน
 
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ท้องใบสีน้ำตาลแดง
 
  ดอก ดอกเป็นช่อออกที่ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง มีใบประดับสีขาว 4 ใบ
 
  ผล ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ(คนเมือง)
ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือลาบ(ปะหล่อง)
ใบ รับประทานกับลาบหรือตำมะเขือยาว(คนเมือง)
ยอดอ่อนและใบ รับประทานสดกับลาบ หรือนำไปยำรวม กับผักชนิดอื่น(คนเมือง)
- ใบ ตำผสมกับสะระแหน่ หญ้าเอ็นยืด ตะไคร้และบัวบก ใช้ประคบบริเวณที่เอ็นขาด แก้อาการปวดเอว(ปะหล่อง)
ทั้งต้น หั่นแล้วแช่ในน้ำเชื่อม ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
ใบ ใช้เป็นส่วนผสมในการต้มไก่เพื่อรับประทานเป็นยาบำรุง ร่างกายหรือนำมาหั่นเป็นฝอยผสมใส่ไข่แล้วนำไปตุ๋น รับประทานรักษาโรคมาลาเรีย หรือนำไปต้มรับประทานรักษาโรคอีสุกอีใส(ม้ง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง